วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฟอร์มหนังสือให้สิทธิอาศัยหรือเก็บกิน

ตัวอย่าง แบบฟอร์มหนังสือให้สิทธิอาศัยหรือเก็บกิน


                                            หนังสือให้สิทธิอาศัยหรือเก็บกิน

                                                                                                     ทำที่…………………………………………
                                                                     วันที่………..เดือน……………….. 25…….เวลา……....
สัญญานี้ทำขึ้นระหว่าง……………………อายุ……………ปี ถือบัตรประจำตัว……………...เลขที่…………………ออกบัตร โดย……………………วันที่ออกบัตร โดย……..  /……  /………วันหมดอายุบัตร ………/………/…………ซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือบ้านเลขที่……………… ……………………..และตามโฉนดเลขที่…………………..ซึ่งอยู่หมู่ที่………ถนน………………………..
ตำบล…………………………เขต/อำเภอ………………………………จังหวัด……………………………..      เนื้อที่…………………………….ตามสัญญานี้เรียกว่า ผู้ให้อาศัยฝ่ายหนึ่ง กับ……………………………
อายุ……………ปี ถือบัตรประจำตัว……………...เลขที่…………………วันออกบัตร……/………/………วันหมดอายุบัตร ………/………/…………ออกบัตร โดย……………………………………...ซึ่งในสัญญา
นี้เรียกว่า  ผู้อาศัยอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาขึ้นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน โดยต่างฝ่ายยึดถือไว้คนละฉบับตามข้อตกลงดังใจความต่อไปนี้
(1)   ผู้ให้อาศัยยินดีให้ผู้อาศัยนำครอบครัวเข้ามาอยู่อาศัยและเก็บกินพืชผลไม้ในบ้านเลขที่…... …………… หรือตามโฉนดเลขที่…………………….ดังระบุไว้ข้างบนแล้วโดยไม่ต้องเสียค่าเช่ามีกำหนด ……………ปี
(ต้องไม่เกิน 30 ปี ) / ตลอดชีวิตของผู้อยู่อาศัย และสิทธินี้ไม่ตกทอดแก่ครอบครัวหรือผู้รับมรดกของผู้อาศัย (ตามมาตรา 1402, มาตรา 1403, และมาตรา 1404 แห่ง ป...)
(2)  ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังมีอยู่  ผู้ทรงสิทธิอาศัยหรือเก็บกินดังกล่าวต้องออกค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพย์สินตลอดจนเสียภาษีอากร  กับทั้งต้องใช้ดอกเบี้ยหนี้สินอันมีอยู่หรือติดพันอยู่กับทรัพย์สินนี้ (ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 1426 แห่ง ป...)
(3)  ผู้ให้อาศัยหรือเจ้าของทรัพย์สินต้องการให้ผู้อาศัยหรือผู้ทรงสิทธิเก็บกินเอาทรัพย์สินประกันวินาศภัยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินทุนประกัน…………………………...บาทและถ้าทรัพย์สิน ใดดังกล่าวนั้นได้เอาประกันภัยไว้แล้ว  ผู้อาศัยหรือผู้ทรงสิทธิ์เก็บกินยินยอมทำประกันวินาศภัยหรือต่อสัญญาประกันนั้นเมื่อคราวต่อ  โดยผู้อาศัยหรือผู้ทรงสิทธิ์เก็บกินยินยอมทำประกันวินาศภัย หรือต่อสัญญาประกันนั้นเมื่อถึงคราวต่อ  โดยผู้อาศัยหรือผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะเป็นผู้ชำระเสียค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างที่สิทธิอาศัยหรือเก็บกินยังมีอยู่เองทั้งสิ้น  (ตามมาตรา 1427 แห่ง ป...)
(4)  ผู้อาศัยและครอบครัวจะไม่ใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติ  หรือการดั่งที่กำหนดไว้ในสัญญานี้คือเพื่อ……………………………..และจะสงวน


ทรัพย์สินที่ให้อาศัยนั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และจะบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย  ทั้งนี้ผู้ได้อาศัยหรือได้สิทธิเก็บกินยอมให้ผู้ให้อาศัยหรือให้สิทธิเก็บกินหรือตัวแทนของผู้ให้อาศัยหรือเก็บกินเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่ให้อาศัยหรือเก็บกินเป็นครั้งคราว  ในเวลาและระยะอันสมควร (ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 552  ถึงมาตรา 555 แห่ง ป...)
(5)    ถ้าทรัพย์สินที่ให้อาศัยนั้นมิได้รับอนุญาตจากผู้ให้อาศัยเป็นหนังสือก่อน  ผู้อาศัยและครอบครัวจะทำการดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ ถ้าและผู้อาศัยหรือครอบครัวทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของผู้ให้อาศัยเช่นนั้นไซร้  เมื่อผู้ให้อาศัยเรียกร้อง  ผู้อาศัยจะต้องทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนคงสภาพเดิม ทั้งจะต้องรับผิดต่อผู้ให้อาศัยในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การดัดแปลงต่อเติมนั้นด้วย  อนึ่งผู้อาศัยจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่ได้อาศัยหรือได้เก็บกิน  เพราะความผิดของผู้อาศัยเองหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้อาศัย หรือบริวารของผู้อาศัยแต่ทั้งนี้ผู้อาศัยไม่จำต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ
ตามมาตรา 558 และ 562 แห่ง ป...)
(6)    ถ้าผู้อาศัยผิดสัญญาข้อใดก็ตามถือว่าสัญญานี้สิ้นสภาพลงทันที   ทั้งยินยอมให้ผู้ให้อาศัยเก็บหรือให้สิทธิเก็บกินฟ้องเรียกค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริงพร้อมด้วยค่าปรับอีกต่างหากเป็นจำนวน……… …………………… บาท (……………………………………………….)
ทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความทั้งหมดและเข้าใจโดยตลอดแล้ว จึงลงลายชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้ากันและต่อหน้าพยานทุกคน

ลงชื่อ…………………………ผู้ให้อาศัย/ให้เก็บกิน                   ลงชื่อ…………………ผู้ให้ความยินยอม/สามี

ภริยา/ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมทรัพย์สิน                                                         (…………………)

      (…………………………………..)

 

ลงชื่อ…………………………ผู้อาศัย/ให้เก็บกิน                        ลงชื่อ…………………ผู้ให้ความยินยอม/สามี

                                                                                                                                      ภริยา/ผู้มีกรรมสิทธิ์

                                                                                                                                     ร่วมในทรัพย์สิน

ลงชื่อ…………………………………..ผู้อาศัย        ลงชื่อ…………………………………..พยาน

      (…………………………………..)                           (…………………………………..)

                                                                                       

ลงชื่อ…………………………พยาน/ผู้เขียน/พิมพ์                   

 (…………………………………..)




ข้อพึงสังวรณ์  ตามมาตรา 1405 สิทธิอาศัยนั้นถ้ามิได้จำกัด ไว้ชัดแจ้งว่าให้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อาศัย เฉพาะตัวไซร้ บุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของผู้อาศัยจะอยู่ด้วยก็ได้
มาตรา 1406 ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้ชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บเอาดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้
มาตรา 1407 ผู้ให้อาศัยไม่จำต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในความซ่อมแซมอันดี ผู้อาศัยจะเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ออกไปในการทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นหาได้ไม่
มาตรา 1408 เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลง ผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนผู้ให้อาศัย
มาตรา 1409 โดยอนุโลมตามมาตรา 563 คดีอันผู้ให้อาศัยจะฟ่องผู้อาศัยเกี่ยวแก่สัญญาอาศัยนั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่ให้อาศัย
มาตรา 1418 สิทธิเก็บกินนั้น จะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตแห่งผู้ทรงสิทธิ์ก็ได้ ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิทธิเก็บกินมีอยู่ตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิ์ถ้าทีกำหนดเวลาทานให้นำบทบัญญัติมาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตายท่านวาสิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ
มาตรา 1420 เมื่อสิทธิเก็บกินสิ้นลง ผู้ทรงสิทธิต้องส่งทรัพย์สินสินคืนแก่เจ้าของ ถ้าทรัพย์สินสลายไป หรือเสื่อมราคาลง ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินใช้ทรัพย์สินสิ้นเปลืองไปโดยมิชอบ ท่านว่าต้องทำให้มีมาแทน ถ้าทรัพย์สินเสื่อมราคาเพราะการใช้ตามสมควรไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินไม่จำต้องใช้ค่าทดแทน
มาตรา 1421 ในการใช้สิทธิเก็บกินนั้น ผู้ทรงสิทธิต้องรักษาทรัพย์สินเสมอกับที่วิญญูชนพึงรักษาทรัพย์สินของตนเอง
มาตรา 1424 ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้องสงวนภาวะแห่งทรัพย์สินมิให้เปลี่ยนไปในสาระสำคัญ กับต้องบำรุงรักษาปกติและซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย จำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ หรือมีการสำคัญอันต้องทำเพื่อรักษาทรัพย์สินไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องแจ้งแก่เสาจ้าของทรัพย์สินโดยพลันและต้องยอมให้จัดทำการนานๆ ไปถ้าเจ้าของทรัพย์สินละเลย
เสีย  ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะจัดทำการนั้นไปโดยให้เจ้าทรัพย์สินออกค่าใช้จ่ายก็ได้
มาตรา 1428 คดีอันเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินในระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือผู้รับโอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อเกินปีหนึ่ง นับแต่วันสิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง แต่ในคดีที่เจ้าของทรัพย์สินเป็นโจทก์นั้น ถ้าเจ้าของไม่อาจรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลงเมื่อใด ท่านให้นับอายุความปีหนึ่งนั้นตั้งแต่เวลาที่เจ้าของทรัพย์สินได้รู้ หรือควรรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง
                                 ดาวน์โหลด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น