วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

หนังสือสัญญาเช่าบ้าน

หนังสือสัญญาเช่าบ้าน                      ฉบับที่……….

         สัญญาทำที่………………………….ณ วันที่………..เดือน……………..พ.ศ………………...
ระหว่าง……….……………..ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่าผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งกับ ……………………………….ซึ่งต่อไปนี้รียกว่า ผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญา กันดังต่อไปนี้
    ข้อ 1.  ผู้ให้ผู้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงรับเช่า…………………..เพื่อค้าขาย   …………………….ตำบล………………………จังหวัด………………มีกำหนดเวลา……..ปี นับตั้งแต่วันที่……….เดือน…………………พ.ศ……………เป็นต้นไป  โดยผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า  เป็นเงินค่าเช่าเดือนละ………………บาท……………สตางค์ (……………………….. บาท)
    ข้อ 2.  ผู้ให้เช่าได้รับเงินล่วงหน้าไว้เป็นประกันการเช่าจากผู้เช่าเป็นจำนวนเงิน………….บาท
    ข้อ 3.  ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่………………………ของเดือนทุกๆ เดือน ถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดทรัพย์สินของผู้เช่าได้และใสกุญแจห้องของผู้เช่าก็ได้
    ข้อ 4.  ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินผู้………………………………………..เป็นผู้เสีย
    ข้อ 5.  ผู้เช่ายอมรับรักษาตัวบ้านที่เช่ามิให้ชำรุดทรุดโทรมไปกว่าเดิม ถ้าผู้เช่ามีความประสงค์จะดัดแปลงหรือเพิ่มเติมสิ่งใดลงไปอีก ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะทำได้ ถ้าเกิดการเสียหายใดๆ ขึ้นผู้เช่ายอมรับผิดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้น
    ข้อ 6.  บรรดาสิ่งก่อสร้างหรือซ่อมแซมลงในบริเวณบ้านเช่านี้ เมื่อผู้เช่าออกจากบ้านเช่า ห้าม มิให้รื้อถอนหรือทำลายเป็นอันขาด และสิ่งก่อสร้างซ่อมแซมดังกล่าวแล้วนั้นต้องตกเป็นของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นโดยผู้เช่าจะเรียกค่าเสียหายใดๆ ไม่ได้เลย ถ้าเกิดอัคคีภัยขึ้น สัญญานี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง
    ข้อ 7.  ผู้เช่ารับว่าจะไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อไปอีกทอดหนึ่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร และจะไม่ยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดอยู่อาศัยดำเนินกิจการค้าขายหรือรับใช้ในหน้าที่ใดๆ ภายในสถานที่เช่านี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนของให้ผู้เช่าเข้าตรวจดูบ้านเช่าได้เสมอ ถ้าผู้เช่าออกไปจากบ้านไม่ว่ากรณีใดผู้เช่าจะเรียกค่าเสียหายหรือค่าขนย้ายจากผู้ให้เช่าไม่ได้ 
    ข้อ 8.  ผู้เช่าต้องจัดการในบริเวณบ้านเช่าอย่าให้มีสิ่งโสโครกและมีกลิ่นเหม็น และไม่กระทำการอึกทึกจนคนอื่นได้รับความรำคาญปราศจากความปกติสุข และไม่เก็บรักษาสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงและไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่น่าหวาดเสียวหน้าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง
    ข้อ 9.  ถ้าผู้เช่าจะประกันเพลิงไหม้สำหรับทรัพย์สมบัติหรือสินค้าของตนภายในบริเวณบ้านเช่าต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะประกันเพลิงไหม้ได้
    ข้อ 10.  ถ้าผู้เช่าจะประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที
    ข้อ 11.  เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดี หรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า
    ข้อ 12.  ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญานี้ ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใดเพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าสมควร
    ข้อ 13. ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจในข้อสัญญานี้โดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือไว้เป็นหลักฐาน


    ลงชื่อ………………………………………ผู้เช่า
       (…………..…………………………)

    ลงชื่อ………………………………………ผู้ให้ช่า
                 (………………………………………)

    ลงชื่อ………………………………………พยาน
             (………………………………………)

    ลงชื่อ………………………………………พยาน
              (…………..…………………………)

หนังสือสัญญาจ้างเหมาระบบไฟฟ้าอาคาร

หนังสือสัญญาจ้างเหมาระบบไฟฟ้าอาคาร

                        ทำที่ บริษัท……………………………....จำกัด
                        ถนน………………….แขวง………………….
                        เขต……………….…จังหวัด………………….

    หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่……….เดือน……………..พ.ศ………………ระหว่างบริษัท………………………จำกัด โดย นาย……………………………………...และ นาย
………………………………………กรรมการกระทำการแทนสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ดังกล่าวข้างต้นซึ่งต่อไปในหนังสือสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง
    กับบริษัท………………………..จำกัด โดย……………………………….กรรมการกระทำแทน สำนักงานตั้งอยู่เลขที่……….ถนน………………………..เขต………………………...
จังหวัด………………………..ซึ่งต่อไปในหนังสือสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง
    ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันมีข้อความสำคัญดังต่อไปนี้
    ข้อ 1. ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้าง และผู้รับจ้างตกลงรับจ้าง ทำการเดินสายไฟฟ้าพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและจัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามแบบแปลนและตามสัญญานี้ เพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้า ณ ……………………………………………………………………………………………………….
ตามแบบแปลนไฟฟ้า รายการไฟฟ้าแนบท้ายสัญญาหมายเลข 1 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญานี้ด้วย
    ข้อ 2. คู่สัญญาตกลงค่าจ้างดังกล่าวในข้อ 1. เป็นเงินทั้งสิ้น…………………………บาท (………………………………………. ) โดยผู้ว่าจ้างจะขำระให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ดังนี้
    งวดที่ 1 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รบจ้างได้ทำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 17. มามอบไว้ให้แก่ผู้ว่าจ้างแล้ว
    งวดที่ 2 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่วนของอาคารจอดรถแล้วเสร็จถึงร้อยละ 90 ของงานดังกล่าว และผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับมอบงานแล้ว
    งวดที่ 3 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้เดินท่อคอนคูทของชั้นล่างถึงแผงสวิทใหญ่ชั้น 6 แล้วเสร็จ และติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าแล้วเสร็จ และผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับมอบงานแล้ว
    งวดที่ 4 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้เดินสายป้อนพร้อมท่อร้อยสายป้อนจากแผง MDB ไปยังแผงประจำชั้น DB แผงไฟฟ้าส่วนกลางและแผงไฟฟ้าของลิฟท์
    งวดที่ 5 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้เดินสายไฟฟ้า XLPE 600 V จากหม้อแปลงทุกชุดถึงแผงสวิทใหญ่แล้วเสร็จ และผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับมอบงานแล้ว
    งวดที่ 6 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้ทำแผงสวิทไฟฟ้า MDB1, MDB2, MDB3, dB11 ชุด, PDB, PL, PF และ Sanitary Penal เข้าถึงหน่วยงานและติดตั้งแล้วเสร็จ
    งวดที่ 7 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และปลั๊กสำหรับไฟฟ้า ส่วนกลางชั้น 7 ถึง 17 ชั้นดาดฟ้า และแผงสวิทไฟฟ้าย่อย แล้วเสร็จถึงร้อยละ 90 ของงานดังกล่าว และผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับมอบงานแล้ว
    งวดที่ 8 ชำระเป็นเงิน……………………บาท (…….…………………….) เมื่อผู้รับจ้างได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าตามแบบแปลนและรายการเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด โดยผู้รับจ้างต้องตรวจสอบให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดสามารถทำงานได้ ตามที่การไฟฟ้านครหลวงเห็นชอบด้วย และผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับมอบงานแล้ว และผู้รับจ้างได้ส่ง as built Drawing และทำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อค้ำประกันผลงานของผู้รับจ้างตามสัญญาข้อ 19. มามอบแก่ผู้ว่าจ้างแล้ว
    ในกรณีที่ผู้รับจ้างได้ติดตั้งงานงวดหนึ่งงวดใดแล้วเสร็จดังกล่าวข้างต้น ผู้รับจ้างก็ขอเบิกเงินงวดดังกล่าวนั้นได้
    ข้อ 3. ผู้รับจ้างต้องทำงานตามข้อ 1. ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่ วันที่……
เดือน…………….พ.ศ. ……………. เป็นต้นไป โดยมีขั้นตอนการทำงานให้แล้วเสร็จดังนี้
3.1 ไฟฟ้าในส่วนอาคารจอดรถให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ระบุข้างต้น
3.2 งานท่อร้อยสายป้อนทั้งหมด (โดยเฉพาะให้ส่วนไฟฟ้าของลิฟท์ทำงานได้) และระบบป้องกันไฟฟ้าผ่า ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ระบุข้างต้น
3.3 งานร้อยสายไฟฟ้าเมน ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ระบุข้างต้น
3.4 ไฟฟ้าส่วนกลาง บันได หน้าลิฟท์ และทางเดินหน้าสำนักงานตั้งแต่ชั้น 7 ถึง 17 ให้เสร็จพร้อมงานฝ้าเพดาน
3.5 แผงสวิทใหญ่ภายในห้องเครื่องชั้น 6 ให้เสร็จภายใน 90 วัน

    ข้อ 4. ผู้รับจ้างต้องเปลี่ยนแปลงแบบแปลนการติดตั้งจากเดิมที่ระบุไว้ในแบบแปลนเป็นรายการดังต่อไปนี้
        4.1 ให้สายไฟฟ้าเมนของลิฟท์ทั้ง 4 ตัว ต่อผ่าน Generator
        4.2 เมนเบรคเกอร์ของลิฟท์ให้เปลี่ยนเป็นขนาด 300A เบรคเกอร์ตัวเล็กให้ติดตั้ง 4 ชุด ๆ ละ 100A
        4.3 ตัว Automatic Transfer Switch ต้องมี Contact ไม่ต่ำกว่า ขนาด 450A
        4.4 แผงสวิทของอาคารจอดรถ และไฟฟ้าส่วนกลาง ตามแบบแปลนแนบท้ายสัญญาหมายเลข 1 ทั้งหมด ให้ย้ายมารวมกันที่ห้องแผงสวิทใหญ่ชั้น 6
        4.5 ระบบไฟฟ้าอาคารจอดรถ ไฟฟ้าส่วนกลางหน้าลิฟท์ และไฟฟ้าทางเดินหน้าสำนักงานชั้น 7 ถึง 17 ให้ติดตั้งตามแบบแปลนแนบท้ายสัญญาหมายเลข 2 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญานี้ด้วย
        4.6 ผู้รับจ้างต้องเดินสายไฟฟ้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
    ข้อ 5. ค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รวมอยู่ในสัญญาจ้างนี้มีดังต่อไปนี้
        5.1 ค่าเดินสายจากแผงมิเตอร์ประจำชั้นบนของอาคาร ไปยังแผงสวิทประจำสำนักงานทั้งหมด
        5.2 ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างและปลั๊กภายในของสำนักงานทั้งหมด
        5.3 ระบบเครื่องยนต์ไฟฟ้าสำรอง
        5.4 ค่าเดินสายโทรศัพท์และติดตั้งอุปกรณ์และระบบโทรศัพท์
        5.5 ค่าเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ระบบเตือนสัญญาณเพลิงไหม้
        5.6 ค่าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบกำจัดน้ำเสีย
        5.7 ค่ามิเตอร์ไฟฟ้า ค่าตรวจและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องชำระให้การไฟฟ้านครหลวง
        5.8 ไฟ Emergency Light ชั้น 2 ถึง 6 และอาคารจอดรถ
        5.9 ไม่รวมหลอดไฟ downright หน้าลิฟท์ชั้น 1 ถึง17 ทั้งหมด
    ข้อ 6. ผู้รับจ้างต้องติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตามยี่ห้อดังต่อไปนี้
        6.1 Conduit RSC or IMC ยี่ห้อ TAS-Local มาตรฐานอเมริกา
        6.2 Conduit EMT    ยี่ห้อ Maturity – Japan
        6.3 Cable LPE 600V   ยี่ห้อ Pheldodge – Local
        6.4 Cable THW    ยี่ห้อ Bangkok Cable – Local
        6.5 ACB, MDB ในตู้สวิท ”  Siemens – Germany MDB 1, MDB 2, MDB 4,
              DB & PDB ส่วนที่ต้องการโอนให้ไฟฟ้านครหลวง
        6.6 MCB ในตู้สวิท PL, PF “Mitsubishi – Japan”Sanitary
        6.7 Load Center   ยี่ห้อ ITE U.S.A
        6.8 โคมไฟฟ้า   ยี่ห้อ Lasso or Starlight Local (ตามตัวอย่างที่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้เลือก)
        6.9 Fluorescent    ยี่ห้อ Sylvania – Canada (สำนักงานใช้ของ Philips)
        6.10 Ballast    ยี่ห้อ Bubo Local (ส่วนกลางใช้ Philips)
        6.11 Starter    ยี่ห้อ Philips Local
        6.12 Emergency Light     ยี่ห้อ OK or Safeguard – Local(ตามที่ผู้ว่าจ้างจะเลือก)
        6.13 Switch & Receptacle”   National – Japan
        6.14 Lightning System   ยี่ห้อ Prevent or U.K.
        6.15 นอกจากที่ระบุข้างต้นแล้ว ผู้รับจ้างจะต้อง ใช้วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่ระบุไว้ในแบบแปลนแนบท้ายสัญญาตามหมายเลข 1 หากในแบบแปลนดังกล่าวมิได้ระบุยี่ห้อหรือขนาดผู้รับจ้างจะต้องหาวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ดี ได้มาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวงหรือ NEC เพื่อใช้ได้กับงานผู้ว่าจ้าง
    ในกรณีที่วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นมีชนิดที่ดี และธรรมดาหรือหลายแบบ ผู้รับจ้างต้องใช้ชนิดที่ดีที่สุด
    ข้อ 7. ผู้รับจ้างต้องทำงานตามข้อ 1. ให้เสร็จเพื่อประโยชน์การใช้สอยตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการติดตั้งชนิดดี ใช้เครื่องมือและช่างฝีมือดีมาใช้ในงานของผู้ว่าจ้าง และจะต้องดำเนินการติดตั้งให้ถูกต้องตามหลักวิชาช่างที่ดี หากงานส่วนหนึ่งส่วนใดที่ติดตั้งตามแบบแปลนมีข้อขัดแย้งกับหลักวิชาช่างที่ดีแล้ว ผู้รับจ้างต้องรีบแจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างทราบเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบแปลนให้ถูกต้องมิฉะนั้นหากระบบไฟฟ้าเกิดการชำรุดบกพร่องขึ้นเพราะเหตุดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง

    ในกรณีทีข้อสงสัยหรือขัดแย้งเกี่ยวกับแบบแปลน หรือรายการก็ดี ผู้รับจ้างต้องรีบสอบถามผู้ว่าจ้างหรือผู้แทน เมื่อได้รับคำชี้แจงจนเป็นที่เข้าใจแล้วจึงดำเนินการต่อไปได้
    ข้อ 8. ถ้ามีงานส่วนหนึ่งส่วนใดที่มิได้ระบุไว้ในแบบหรือรายละเอียด แต่เป็นส่วนหรือสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อความสวยงามหรือเพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาช่างที่ดี และเพื่อให้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าเสร็จตามประโยชน์ใช้สอยของผู้ว่าจ้างแล้ว ผู้รับจ้างต้องยอมรับทำงานนั้น ๆ ให้เสร็จเรียบร้อย โดยไม่คิดค่าสินจ้างใด ๆ นอกเหนือจากที่ได้ตกลงกันในสัญญานี้และผู้รับจ้างจะไม่ถือเป็นเหตุแห่งการขยายระยะเวลาการติดตั้ง
    ข้อ 9. เมื่อผู้รับจ้างทำการเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วเสร็จ ก่อนส่งมอบงานผู้รับจ้างต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของที่เป็นทรัพย์สินของผู้รับจ้างออกไปให้พ้นบริเวณที่ก่อสร้างและทำความสะอาดบริเวณที่ก่อสร้างให้เรียบร้อย จึงส่งมอบงานได้
    ข้อ 10. ในกรณีผู้เช่าอาคารไม่ว่ารายใด ได้เข้ามาอยู่หรือใช้ประโยชน์ในท้องที่เช่าแล้ว และการไฟฟ้านครหลวงไม่สามารถทำการต่อกระแสไฟฟ้าถาวร (มิเตอร์ไฟฟ้า) ให้ได้ทันกำหนดที่ผู้เช่า จะเข้าใช้ประโยชน์ ผู้รับจ้างต้องจัดหากระแสไฟฟ้าชั่วคราวให้ผู้เช่าดังกล่าวมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างพอเพียง มิฉะนั้นผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) จนกว่าผู้รับจ้างจัดการกระแสไฟฟ้าให้ผู้เช่าใช้งานได้
    ข้อ 11. ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ติดต่อกับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอให้อนุมัติแบบแปลนไฟฟ้าแนบท้ายสัญญา หากแบบแปลนไฟฟ้าดังกล่าวต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามความเห็นของการไฟฟ้านครหลวง ผู้รับจ้างต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบและแก้ไข แบบแปลนให้ถูกต้องตามความเห็นของการไฟฟ้านครหลวง โดยไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น ในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้รับจ้างต้องเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตามแบบแปลนของการไฟฟ้านครหลวงซึ่งผู้รับจ้างต้องส่งแบบแปลนไฟฟ้าแก้ไขดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างอีก 1 ชุด
    ข้อ 12. ผู้รับจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนไฟฟ้าและการใช้วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าบางส่วนหรือทั้งหมดได้เสมอ โดยผู้ว่าจ้างจะแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบพร้อมแบบแปลนไฟฟ้าหรือรายการที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบก่อนที่ผู้รับจ้างจะลงมือทำงานส่วนนั้น ๆ หรือในขณะที่กำลังทำงานส่วนดังกล่าวอยู่ หากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขดังกล่าวทำให้ปริมาณของงานระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หรือลดลงให้คิดคำนวณราคาค่าจ้างเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามบัญชีราคาต่อหน่วยที่ผู้รับจ้างได้เสนอต่อผู้ว่าจ้าง
    ข้อ 13. ผู้รับจ้างจะไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนไฟฟ้า หรือรายการวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง
    ข้อ 14. ผู้รับจ้างต้องจัดทำแผนการทำงาน แบบขยายรายละเอียด (Shop Drawing) และเอกสารรายละเอียดประกอบต่าง ๆ ในการทำงานเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตามสัญญานี้มามอบให้ไว้แก่ผู้ว่าจ้าง 1 ชุด และที่หน่วยงานอีก 1 ชุด ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเองและผู้รับจ้างต้องส่งมอบแผนการทำงานแบบขยายรายละเอียด และเอกสารดังกล่าวก่อน ที่ผู้รับจ้างลงมือทำงานหรือในขณะที่ทำงาน
    ข้อ 15. ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรไฟฟ้า ผู้มีความชำนาญงานระบบไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตตามประราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มาเป็นผู้ควบคุมงานระบบไฟฟ้า โดยต้องประจำอยู่ที่หน่วยงานของผู้ว่าจ้างอย่างน้อย 1 คน ตลอดเวลาการทำงานตามสัญญานี้

    ข้อ 16. ผู้รับจ้างต้องทำงานในข้อ 1 ตามแบบแปลนรายละเอียด หลักวิชาช่างที่ดี และตามคำแนะนำหรือคำสั่งของผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างโดยเคร่งครัด
    ข้อ 17. ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย และผู้ว่าจ้างพอใจค้ำประกันการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตามสัญญานี้ ในวงเงินค้ำประกันจำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) มีอายุการค้ำประกัน 120 วัน โดยผู้รับจ้างต้องจัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางต่อผู้ว่าจ้างภายในกำหนด……..วัน นับแต่วันที่ทำสัญญานี้เป็นต้นไป
    ในกรณีที่วันแล้วเสร็จตามสัญญาต้องยืดออกไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับจ้างต้องจัดการให้ธนาคารขยายระยะเวลาการค้ำประกันออกไป หรือจัดหาธนาคารแห่งใหม่ตามวรรคก่อนค้ำประกันต่อไปเท่ากับระยะเวลาที่ยืดออกไป
    ข้อ 18. ผู้รับจ้างให้สัญญาว่า งานตามสัญญานี้หากเกิดชำรุดบกพร่อง หรือเสียหายอันเนื่องจากการใช้งานตามปกติ หรือเกิดจากการทำงานของผู้รับจ้างบกพร่อง หรือมิได้ทำงานตามแบบแปลนหรือหลักวิชาช่างที่ดี ผู้รับจ้างต้องดำเนินการซ่อมแซม แก้ไขส่วนที่ชำรุดบกพร่อง โดยไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และรับผิดชอบในบรรดาความเสียหายอันเกิดจากการชำรุดบกพร่องหรือเสียหายดังกล่าว เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะมิใช่ความผิดของผู้รับจ้างทั้งนี้กำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานทั้งหมด  
    ข้อ 19. เพื่อเป็นหลักประกันตามสัญญาข้อ 18 ผู้รับจ้างต้องจัดหาธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบ กิจการในประเทศและผู้ว่าจ้างพอใจ ทำหนังสือค้ำประกันผลงานตามสัญญาข้อ 18 ในวงเงินจำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) มีอายุการค้ำประกัน 1 ปี มามอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง
ข้อ 20. หากผู้รับจ้างผิดนัดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือทำงานตามสัญญาให้แล้วเสร็จเกินกำหนดเวลาตามสัญญาข้อ 3. งวดหนึ่งงวดใด หรือผู้รับจ้างละทิ้งงาน หรือไม่จัดให้มีคนงานเข้าทำงานเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเลิกสัญญา และยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) โดยให้นับเป็นค่าเสียหายที่น้อยที่สุดของผู้ว่าจ้าง หากมีความเสียหายอื่นใดอีก ผู้รับจ้างยอมรับผิดชอบตามจำนวนที่เสียหายดังกล่าว และผู้รับจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่ผู้รับจ้างยังไม่ได้รับทันที
    หนังสือสัญญานี้ ทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย ต่างยึดถือไว้คนละฉบับและได้อ่านข้อความโดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงกับเจตนาของตน จึงได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญต่อหน้าพยาน

                        ลงชื่อ………………………………..ผู้ว่าจ้าง
                                (…………………………………)

                        ลงชื่อ………………………………..ผู้ว่าจ้าง
                                (…………………………………)

                        ลงชื่อ………………………………..ผู้รับจ้าง
                                (…………………………………)

                        ลงชื่อ………………………………..พยาน
                                (…………………………………)

                        ลงชื่อ………………………………..พยาน
                                (…………………………………)

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน
เขียนที่……………………………………..
                                                                                      วันที่……………………………………………..
        หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท……………………………………………..จำกัด โดย
………………………………………….กรรมการผู้จัดการ สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่………………….
ถนน……………………………แขวง………………………………..เขต……………………………………
กรุงเทพมหานคร  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า  "นายจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง กับ………………………………………
……………………………………………..อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่………………หมู่ที่………………
ตรอก/ซอย……………………………ถนน…………………………………ตำบล……………………………
อำเภอ………………………….……….จังหวัด………………………………. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า
"ลูกจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญานี้ไว้ต่อกัน ดังมีข้อความต่อไปนี้ คือ:-
        ข้อ 1.  นายจ้างตกลงว่าจ้างและลูกจ้างตกลงรับจ้างทำงานในตำแหน่ง………………………………
……………………………. ณ สถานที่ทำการของนายจ้างในประเทศ ก. มีกำหนดเวลา…………………..เดือน
โดยลูกจ้างจะเข้าทำงานตั้งแต่ วันที่………………………………….จนถึงวันที่………………………………..
และนายจ้างขอสงวนสิทธิ์ที่จะย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งอื่นหรือในแผนกใด ๆ ของนายจ้างได้ตามที่
เห็นสมควร
        ข้อ 2.  นายจ้างตกลงว่า ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
และนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงานนี้  เมื่อนายจ้างได้พิจารณาเห็นว่า
ลูกจ้างไม่พยายามปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาฉบับนี้ หรือละเมิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะงวดรายเดือนที่จ่ายแล้วเท่านั้น  แต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่เหลือตามสัญญานี้และเงินค่าชดเชยหรือค่าตอบแทนใด ๆ เนื่องจากเลิกจ้างแต่อย่างใด  เมื่อลูกจ้างทำงานครบกำหนดระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว  และนายจ้างประสงค์จะจ้างลูกจ้างนั้นต่อไปจนครบกำหนดตามสัญญานี้  ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร   
         ข้อ 3.  นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น………………………………….บาท
(………………………………………………….) โดยแบ่งจ่ายเป็นงวดรายเดือน ๆ ละ …………………..บาท
(………………………………………………….) รวมทั้งสิ้น 8 งวด โดยนายจ้างจะหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่
จ่ายค่าจ้างและค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วนั้น  ให้ถือว่าเป็นจำนวนค่าจ้างเต็มที่ลูกจ้าง
มีสิทธิได้รับตามสัญญานี้
        ข้อ 4.  นายจ้างตกลงว่า ถ้างานที่ทำสำเร็จบริบูรณ์เป็นไปตามสัญญาระหว่างนายจ้างและผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้างนั้นได้รับมอบงานจากนายจ้างเรียบร้อยแล้ว  ก่อนระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ 1.  นายจ้างยินดีที่จะ
จ่ายค่าจ้างที่เหลือทั้งหมดให้แก่ลูกจ้างทันที  โดยลูกจ้างมิต้องทำงานต่อไปจนครบกำหนดสัญญา  และลูกจ้าง
ตกลงว่า ถ้างานที่ทำสำเร็จสมบูรณ์ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ 1.  ลูกจ้างยินดีทำงานต่อไปจนถึงวันที่
งานทำสำเร็จบริบูรณ์เป็นไปตามสัญญาระหว่างนายจ้างและผู้ว่าจ้างทุกประการ  โดยลูกจ้างจะไม่เรียกร้องค่าจ้าง
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากนายจ้างแต่อย่างใด
        ข้อ 5.  นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดตามข้อ 3.  ให้แก่ลูกจ้างตามอัตราดังต่อไปนี้  คือ.
             5.1 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย จะจ่าย
ให้แก่ลูกจ้างโดยตรง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ในวันทำงานสุดท้ายของเดือน
             5.2 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย จะจ่าย
ให้แก่ตัวแทนของลูกจ้างในประเทศไทย ณ สถานที่ทำการของนายจ้างในวันทำงานสุดท้ายของเดือน
             5.3 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย นายจ้าง
จะหักไว้เป็นเงินสะสมของลูกจ้าง และจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเรียบร้อย
โดยลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องดอกเบี้ยในเงินสะสมดังกล่าวแต่อย่างใด
        ข้อ 6.  นอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้ใน ข้อ 3. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  นายจ้างตกลงกำหนดโบนัส
ไว้เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น……………………..บาท (…………………………………………………………)
เพื่อแบ่งเฉลี่ยจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยหลังจากทำงานสำเร็จบริบูรณ์เป็นไป
ตามสัญญานี้แล้ว  สำหรับจำนวนเงินโบนัสที่ลูกจ้างแต่ละคนมีสิทธิได้รับจากยอดเงินจำนวนดังกล่าว  นายจ้าง
จะเป็นผู้พิจารณากำหนดตามความเหมาะสมและตามเห็นชอบของหัวหน้างาน
        ข้อ 7.  นอกเหนือจากค่าจ้างและเงินโบนัสที่กำหนดในข้อ 3. และ 6. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว นายจ้าง
จะจัดสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เช่น การเอาประกันชีวิตสำหรับการเดินทางและระหว่างการทำงานไว้กับบริษัท
ประกันภัย  โดยให้ลูกจ้างเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันการจ่ายค่ารักษาพยาบาล  โดยยึดถืออำนาจการคุ้มครองของประกันชีวิต  การจัดที่พักอาศัยและอาหารสำหรับลูกจ้าง  การจัดพาหนะรับส่งระหว่างเวลาทำงาน  การจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนต่อสำนักงานกองทุนเงินทดแทนตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง  ตลอดจนการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเดินทาง รวมทั้งการจัดสวัสดิการอื่น ๆ ตามที่นายจ้างเห็นสมควร  โดยนายจ้างจะประกาศให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นคราว ๆ ไป
        ข้อ 8.  ในกรณีที่งานที่ทำต้องหยุดชะงักชั่วคราวก็ดี หรือไม่สามารถทำต่อไปได้เพราะเหตุสุดวิสัย
ก็ดี  หรือเกิดภาวะสงครามหรือความไม่สงบขึ้นในประเทศ ก. ก็ดี  ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของนายจ้าง ๆ ไม่ต้อง
รับผิดในการจ่ายค่าจ้างสำหรับช่วงระยะเวลาที่ต้องหยุดงานไปเพราะเหตุดังกล่าว  แต่นายจ้างจะต้องจัดสวัสดิการทางด้านที่พักอาศัยและอาหาร การรักษาพยาบาลและสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็นให้ลูกจ้าง  สำหรับช่วงระยะ
เวลาที่ต้องหยุดงานไปเพราะเหตุดังกล่าว
        ข้อ 9.  ลูกจ้างสัญญาว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานหรือผู้จัดการ และจะปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ทั้งที่ได้บัญญัติไว้แล้วในขณะนี้หรือจะได้บัญญัติขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วย และนายจ้างและลูกจ้างตกลงให้ถือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ หากมีบทบัญญัติใด ๆ ขัดหรือแย้งกับหนังสือสัญญาฉบับนี้ ให้นำเอาบทบัญญัติของสัญญานี้มาใช้บังคับ
        ข้อ 10.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะพึงมีขึ้น และจะต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลอื่น โดยลูกจ้างจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ได้กระทำต่อนายจ้างหรือบุคคลอื่นใด
        ข้อ 11.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติและรับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่น ๆ ทั้งของประเทศไทยและประเทศ ก. และลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการเปิดเผยความลับหรือสิ่งปกปิดใด ๆ ของนายจ้างโดยเด็ดขาด ซึ่งลูกจ้างได้รับทราบเนื่องจากปฏิบัติงานหรือได้ค้นพบในระหว่างระยะเวลาการจ้าง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
        ข้อ 12.  เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ลูกจ้างจะต้องส่งคืนซึ่งยานพาหนะ เครื่องมือ
อุปกรณ์ แบบพิมพ์ คู่มือ บันทึก รายงานวัสดุอื่น ๆ  อันเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของนายจ้างและที่อยู่ภายใต้
การควบคุมดูแลของลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยพลัน
        ข้อ 13.  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยินยอมให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้
เพื่อระงับข้อพิพาทโดยสำนักงานแรงงานไทยในประเทศอีรัก ซึ่งเกี่ยวพันกับสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายนั้น หรือ
ระงับข้อพิพาทเกี่ยวพันกับงานที่ทำภายใต้สัญญานี้  ในกรณีที่ไม่มีสำนักงานแรงงานไทยในประเทศนั้น ให้
ระงับข้อพิพาทดังกล่าวโดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยแล้วแต่กรณี
    
   ข้อ 14.  เว้นแต่ข้อความในสัญญานี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติ
ตามหนังสือสัญญาฉบับนี้ หรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ก็ดี  คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอก
เลิกสัญญาได้ทันที  ทั้งนี้ต้องบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
        หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นเป็นสามฉบับ ซึ่งต่างมีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการสำหรับเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่กรมแรงงานหนึ่งฉบับ  นายจ้างและลูกจ้างถือไว้ฝ่ายละฉบับ  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจ
ข้อความแห่งสัญญานี้โดยตลอดแล้ว  จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ………………………………………..ผู้ว่าจ้าง              
                               (…………………………………………..)              
                                                           กรรมการผู้จัดการ                               
 ลงชื่อ………………………………………..พยาน
                                (……………………………………..…..)
ลงชื่อ……………………………………….ผู้ว่าจ้าง     
                                  (..………………………………………..)   
ลงชื่อ………………………………………..พยาน          
                                                                           (………………………………………..)

หนังสือสัญญาว่าจ้างว่าความ

หนังสือสัญญาว่าจ้างว่าความ

ทำที่………………………………….
วันที่…………เดือน………………………พ.ศ.………….

    หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง …………………………………….…………………….
อยู่บ้านเลขที่………..………………………ถนน……………………..แขวง………………………….เขต……………………………..กรุงเทพมหานคร   ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่งกับ…….
………………………………..อยู่บ้านเลขที่…………………………ถนน……………………….….
แขวง……………………..เขต………………………..………กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า
"ทนายความ"   อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันมีข้อความสำคัญต่อดังนี้
ข้อ  1.  ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างและทนายความตกลงรับจ้างความฟ้องคดีแพ่ง   โดยผู้ว่าจ้างเป็นโจทย์เรียกร้องเงินค่าสินไหมทดแทนจาก………………..……………………………………………..จำนวนทุนทรัพย์ประมาณ ……………………..บาท (……………………………………………….)
ข้อ  2.  คู่สัญญาตกลงค่าจ้างว่าความในศาลชั้นต้น เป็นเงินจำนวน………………………บาท
(………………………………..)  ค่าจ้างว่าความในศาลอุทธรณ์เป็นเงิน…………………………บาท
(………………………………..)  ค่าจ้างว่าความในศาลฎีกาเป็นเงิน…..…………………………บาท
(………………………………..)  โดยผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างความให้แก่ทนายความดังนี้
    2.1 ค่าจ้างว่าความในศาลชั้นต้น ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างว่าความให้แก่ทนายความเป็นเงิน…………………..งวด
งวดแรกชำระภายในวันที่ ………………. เป็นเงิน…..…………………………………บาท
(………………………………..)
งวดสองชำระภายในวันที่ ………………. เป็นเงิน…..…………………………………บาท
(………………………………..)
งวดสามชำระภายในวันที่ ………………. เป็นเงิน…..…………………………………บาท
(………………………………..)
    2.2 ค่าจ้างว่าความในศาลอุทธรณ์   และหรือศาลฏีกา   ในกรณีที่คดีทีการอุทธรณ์หรือฎีกา   ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างว่าความในชั้นอุทธรณ์    และหรือฎีกาให้แก่ทนายความเมื่อคดีถึงที่สุดแต่หากมีการยอมความกันในศาลในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา คู่สัญญาตกลงกันว่าค่าทนายความหลังจากที่ยอมความกันนั้นให้เป็นอันยกเลิกระงับไป
ข้อ  3.  ค่าจ้างว่าความดังกล่าวข้างต้นไม่รวมถึงค่าขึ้นศาล ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีต่าง ๆ   และค่าใช้จ่ายในการบังคับดี
    สัญญานี้ทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ   ทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจ ขอความในสัญญานี้โดยตลอดแล้ว   เห็นว่าถูกต้องตรงกับเจตนาของตน   จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานและต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ

ลงชื่อ………………………………………..ผู้ว่าจ้าง
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..ทนายความ
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
        (………………………………………)

หนังสือสัญญาซื้อขายสินค้า รับโอนสินค้า

หนังสือสัญญาซื้อขายสินค้า รับโอนสินค้า
(กรณีรวมสินค้าทั้งหมด)

สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่…………………..เดือน………………………..พ.ศ…………… ณ เลขที่…………………………..ถนน……………………………….ตรอก/ซอย………………………….. ตำบล……………………………….อำเภอ……………………………….จังหวัด…………………………...
ระหว่าง  บริษัท………………………………………จำกัด โดย………………………………. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ขาย” ฝ่ายหนึ่ง
กับ…………………………………………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ซื้อ” อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1.  ผู้ขายตกลงขายและผู้ซื้อตกลงซื้อสินค้าที่มีอยู่ในความครอบครองของผู้ขายหรืออยู่ในนามห้างดีพาร์ทเม้นท์สโตร์อยู่ที่ศูนย์การค้า…………………………………………..ตามวิธีการและราคาที่กำหนดไว้ดังนี้
1.1 สินค้าที่ผู้ขายซื้อหรือสั่งซื้อหรือมีไว้โดยปรากฏหลักฐานตามใบเสร็จหรือใบสั่งซื้อหรือใบรับสินค้า ตั้งแต่วันที่…………………………………….เป็นต้นไป ผู้ซื้อจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หรือเจ้าของสินค้าตามราคาที่ปรากฏในใบเสร็จหรือใบรับสินค้า และตามจำนวนสินค้าที่ทั้งสองฝายได้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของจำนวนสินค้าแต่ละชนิด
1.2 สินค้าที่ผู้ขายมีอยู่ก่อนวันที่…………………………………ผู้ซื้อจะพิจารณาซื้อจากผู้ขาย โดยกำหนดราคาให้ตามสภาพความเป็นจริง ตามภาวะตลาด ตามจำนวนที่ผู้ขายและผู้ซื้อตรวจสอบและรับรองความถูกต้องแล้ว
1.3 กรณีสินค้าตามข้อ 1.2 ยังสามารถตกลงราคาหรือตรวจสอบจำนวนที่แท้จริงได้      ผู้ขายจะต้องนำสินค้าเหล่านั้นไปเก็บไว้ในสถานที่อื่นนอกจากสถานที่ที่ผู้ขายทำการขายสินค้าตามข้อ 1.1 และ 1.2 เพื่อรอการตกลงราคากันต่อไประหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
ข้อ 2.  ผู้ขายจะต้องจัดเจ้าหน้าที่และดำเนินการให้ผู้ซื้อเข้าตรวจสอบสินค้าตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1. ภายในวันที่……………………………………เป็นต้นไป และผู้ขายจะต้องมอบสำเนาใบเสร็จ        สินค้าหรือใบรับสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในวันเดียวกันนั้นด้วย
ผู้ขายจะต้องกำหนดจำนวนเงินเจ้าหน้าที่และแจ้งรายชื่อของเจ้าหน้าที่ที่จะทำการตรวจสอบสินค้าร่วมกับผู้ซื้อให้ผู้ซื้อทราบภายในวันที่……………………………………
ข้อ 3.  การคำนวณจำนวนสินค้าเพื่อคิดราคาที่ผู้ขายจะต้องชำระให้แก่ผู้ซื้อ หรือเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินให้แก่เจ้าของสินค้าตามข้อ 1.1 ให้คิดคำนวณตามจำนวนสินค้าที่ปรากฏอยู่หลังจากผู้ขายได้ทำการปิดการขายสินค้าในวันที่…………………………………..
ข้อ 4.  ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อเข้าทำการขายสินค้าในบริเวณ………………………….ที่ผู้ขายทำการขายอยู่ตั้งแต่วันที่………………………..เวลา………………………….เป็นต้นไป
ข้อ 5.  เนื่องจากผู้ซื้อประสงค์จะดำเนินธุรกิจด้านขายสินค้าที่ผู้ขายได้ดำเนินการอยู่  และ          ผู้ขายมีความประสงค์จะเลิกการประกอบธุรกิจการขายสินค้าตามที่ได้ดำเนินการอยู่  นอกจากการซื้อสินค้าตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้  ผู้ขายตกลงมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าหรือรูปรอยของเครื่องหมายการค้าที่มีสัญลักษณ์เป็นรูป…………………………..ตลอดจนถ้อยคำหรือข้อความ………. ………………………..หรือ……………………………..ให้แก่ผู้ซื้อ  โดยไม่คิดมูลค่าและผู้ขายขอให้สัญญาว่าจะไม่ดำเนินธุรกิจหรือประกอบการค้าโดยใช้เครื่องหมายหรือถ้อยคำหรือรูปสัญลักษณ์ ดังกล่าวไว้อีกต่อไปโดยเด็ดขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 6.  ผู้ขายตกลงให้ผู้ซื้อใช้สิทธิการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สิทธิการเช่าอาคารจากผู้ให้เช่า    ได้นับแต่วันที่……………………….เป็นต้นไป ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยงข้องในส่วนนี้ผู้ซื้อมีหน้าที่ที่จะต้องชำระให้แก่การไฟฟ้า องค์การโทรศัพท์ การประปานครหลวง ตั้งแต่วันที่……………เป็นตนไปเช่นกัน
หนังสือค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าที่ผู้ขายได้มอบให้การไฟฟ้านครหลวงยึดถือไว้เป็นหลักประกันนั้นผู้ขายตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิใช้ประโยชน์ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุของการค้ำประกัน
สำหรับค่ามัดจำหรือวางเงินสดเป็นค่าประกันการใช้ไฟฟ้า  ประปา  โทรศัพท์  ผู้ซื้อจะชำระคืนให้แก่ผู้ขายตามจำนวนที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงิน  แต่ผู้ขายจะต้องดำเนินการโอนสิทธิการเป็นเจ้าของเงินเหล่านั้นให้แก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้รับเงินจากผู้ซื้อ
ข้อ 7.  สิทธิหรือการคุ้มครองเรื่องการประกันอัคคีภัยตัวอาคารสินค้า หรือการประกันใดๆ เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ในตัวอาคาร หรือที่ทำการส่วนที่ขายสินค้าของ………………………ตลอดจนสัญญาให้บริการเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าในห้างดีพาร์ทเม้นสโตร์ผู้ขายตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิหรือดำเนินการให้ผู้ซื้อใช้สิทธิแทนผู้ขายได้จนหมดสัญญาการคุ้มครองหรือการให้บริการ โดยผู้ซื้อไม่ต้องชำระค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ขายทุกกรณี
ข้อ 8.  ผู้ขายต้องดำเนินการให้พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายทุกคนลาออกจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขาย  โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่…………………………….เป็นต้นไป และผู้ขายต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่………………………………และผู้ซื้อจะพิจารณารับพนักงานหรือลูกจ้างเหล่านั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ซื้อหรือของนิติบุคคลอื่นใดที่ผู้ซื้อได้พิจารณาเห็นสมควรโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่………………………………ตามอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินกว่าที่พนักงานหรือลูกจ้างเหล่านั้นได้รับจากผู้ขาย โดยเฉลี่ยเป็นรายเดือนจากวันที่………………………ถึงวันที่
……………………...และเพื่อให้การดำเนินงานในส่วนนี้เป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วสมตามวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายผู้ ขายรับว่าจะดำเนินการดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้ซื้อ
8.1 ส่งมอบประวัติและอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างของพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อภายในวันที่……………………………………
8.2 จัดหาสถานที่   เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โทรศัพท์ ให้แก่ผู้ซื้อเพื่อใช้สัมภาษณ์พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขาย
8.3 จัดหรือแนะนำให้พนักงานหรือลูกจ้างระดับหัวหน้างานให้ผู้ซื้อได้รู้จักและมอบ รายละเอียดประวัติของพนักงานหรือลูกจ้างเหล่านั้นให้แก่ผู้ซื้อตามที่ผู้ขายเห็นว่าผู้ซื้อควรจะได้รับทราบ
8.4 พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายที่มาเขียนใบสมัครงานกับผู้ซื้อจะต้องมีใบลาออกหรือคำรับรองว่า พนักงานหรือลูกจ้างเหล่านั้นได้ลาออกจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายแล้วตามที่ได้ตกลงกันไว้ดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 9.  เป็นที่ทราบกันดีแล้วทั้งสองฝ่ายว่า ถ้าผู้ขายไม่สามารถดำเนินการให้พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายลาออกจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ผู้ซื้อจะไม่พิจารณารับพนักงานหรือลูกจ้างเหล่านั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ซื้อ
นอกจากนี้แล้ว  ผู้ขายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้หรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานหรือแรงงานสัมพันธ์ของกระทรวงมหาดไทยด้วยทุนทรัพย์ของผู้ขายเอง  ผู้ซื้อไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ   หรือชดใช้หรือชดเชยเงินจำนวนใดให้แก่ผู้ขาย หรือพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ขายทุกกรณี

ข้อ 10.  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้ทราบเจตนาของแต่ละฝ่ายดีอยู่แล้วว่าสัญญาฉบับนี้มิใช่เป็นการซื้อกิจการของบริษัท……………………………จำกัด ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ใด ๆ ก็ตามที่ผู้ขายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบให้เป็นไปตามนั้น ผู้ซื้อไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ขายแต่อย่างใดทั้งสิ้น เว้นแต่ที่จะกล่าวไว้โดยแจ้งชัดในสัญญานี้

ข้อ 11.  ผู้ขายตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อโอนสิทธิตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่บุคคลหรือคณะบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ก็ตาม ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร โดยผู้รับโอนสิทธิจากผู้ซื้อ จะต้องปฏิบัติต่อผู้ขายตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ทุกประการเช่นเดียวกับผู้ซื้อ และผู้รับโอนสิทธิจากผู้ซื้อไม่ต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขายแต่อย่างใดทั้งสิ้น
สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้อ่านและเข้าใจข้อความดีด้วยกันแล้ว จึงได้ลงชื่อพร้อมประทับตราไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานและต่างฝ่ายยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ

ลงชื่อ…………………………………ผู้ขาย                           ลงชื่อ……………………………………..ผู้ซื้อ
   (……………………………………..)                                      (…………………………………………..)
        
ลงชื่อ…………………………………พยาน                        ลงชื่อ……………………………………..พยาน
   (……………………………………..)                                      (…………………………………………..)

หนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดิน

หนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดิน

    หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้น ณ……………………………เมื่อวันที่…………เดือน………………...
พ.ศ………………….ระหว่าง…………………………………..อายุ………..ปี อยู่บ้านเลขที่……………….
ถนน………………ตำบล/แขวง……………………อำเภอ/เขต…………………จังหวัด……………………
และ……………………………….…อายุ………..ปี อยู่บ้านเลขที่……………….ถนน………………ตำบล/แขวง……………………อำเภอ/เขต…………………จังหวัด……………………ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญานี้รวมเรียกว่า “ผู้จำนอง” ฝ่ายหนึ่ง กับกรม………………………….โดย……………………………..
ตำแหน่ง………………………………ผู้รับมอบอำนาจจากกรมตำรวจ ตามหนังสือมอบอำนาจ ฉบับลงวันที่………เดือน………………พ.ศ………………แนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้รับจำนอง” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากัน ดังต่อไปนี้
    ข้อ 1. ผู้จำนองเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)……………………..เนื้อที่ดิน……….ไร่…………..งาน……………ตารางวา อยู่ที่ตำบล……….………อำเภอ…………………
จังหวัด……………………และโฉนดที่……………..เลขที่ดิน………………หน้าสำรวจ…………………...
ระวาง………………เนื้อที่…………….ไร่…………..งาน……………ตารางวา อยู่ที่ตำบล……….………อำเภอ…………………จังหวัด……………………………
    ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินตามวรรคหนึ่ง และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่แล้วในที่ดินแปลงดังกล่าวในขณะทำสัญญานี้ หรือซึ่งจะไม่มีขึ้นต่อไปในภายหน้าแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาเลขที่…………ลงวันที่……..เดือน……………พ.ศ…………….
ระหว่าง กรม……………….…..….……กับ……………………...………..และ…………………………….
จนกว่า……………………………ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวพร้อมด้วยค่าอุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองด้วย
    ข้อ 2. หากปรากฏว่า…………………………………ผิดนัดโดยไม่ผ่อนชำระหนี้ภายในกำหนดให้แก่ผู้รับจำนองตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดหรือ………………………………..
ล้มละลายหรือตายหรือมีการบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ผู้รับจำนองมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จำนองชำระหนี้ตามสัญญาจำนองนี้และบังคับจำนองได้ทันที ทั้งผู้จำนองยินยอมชดใช้ค่าดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ตลอดจนยินยอมเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองทั้งสิ้น
    ข้อ 3. ถ้าทรัพย์สินที่จำนองนี้ชำรุดเสียหายหรือสูญหายไป จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคาไม่พอเพียงแก่การประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ผู้จำนองจะต้องเอาทรัพย์อื่นมาจำนองเพิ่มให้พอเพียงกับจำนวนหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ชักช้า ถ้าผู้จำนองบิดพลิ้ว ไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามความที่กล่าวมานี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกร้องให้ผู้จำนองชำระหนี้ตามสัญญาจำนองนี้และบังคับจำนองได้ทันที
    ในกรณีที่ผู้รับจำนองบังคับจำนอง ถ้าขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือเอาทรัพย์จำนองหลุด หากปรากฏว่าทรัพย์สินที่จำนองนี้มีราคาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้จำนองตกลงยินยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดอยู่จนครบถ้วน
    ข้อ 4. หากผู้รับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองนี้หลุดเป็นสิทธิ และปรากฏว่ามีหนี้เงินค่าภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำนองนี้ค้างอยู่มากน้อยเท่าใด ซึ่งผู้รับจำนองต้องรับผิดชดใช้เงินค่าภาษีอากรนั้น ผู้จำนองยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าภาษีอากรนั้นแทนผู้รับจำนองพร้อมทั้งค่าเสียหายอื่น ๆ ที่ผู้รับจำนองต้องเสียไปโดยครบถ้วน    
    ข้อ 5. ผู้จำนอง จะต้องบำรุงรักษาซ่อมแซม ตึก บ้าน โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่มีอยู่ในที่ดินตามสัญญา ข้อ 1. หรือ ซึ่งจะได้ปลูกสร้างขึ้นต่อไปในภายหน้าให้มั่นคงแข็งแรงเรียบร้อยมีสภาพที่ใช้การได้ดีอยู่เสมอตลอดเวลาที่จำนองไว้แก่ผู้รับจำนอง
    ข้อ 6. ผู้จำนองจำต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองตามสัญญาข้อ 1 ไว้กับบริษัทประกันภัยที่ผู้รับจำนองเห็นชอบภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้ เป็นจำนวนเงินเต็มตามวันตลอดอายุสัญญานี้ โดยระบุชื่อผู้รับจำนองเป็นผู้รับประโยชน์ และผู้จำนองเป็นผู้ชำระเงินเบี้ยประกันภัย ทั้งผู้จำนองต้องมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับจำนองด้วย ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต่อ ๆ ไป ผู้จำนองจะต้องนำมามอบให้ผู้รับจำนอง ก่อนกรมธรรม์ฉบับเดิมจะสิ้นอายุไม่น้อยกว่า……………….วัน
    ข้อ 7. ในระหว่างที่การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยังไม่ครบถ้วนเสร็จสิ้น ห้ามผู้จำนองก่อนให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ในทรัพย์สินที่จำนองดังกล่าวในสัญญาข้อ 1. เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นหนังสือ
    ข้อ 8. หากผู้รับจำนอง มีเหตุน่าเชื่อว่าผู้จำนองจะไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือผู้จำนองผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้รับจำนองมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จำนองชำระหนี้ตามสัญญาจำนองนี้ และบังคับจำนองได้ทันที
    ข้อ 9. ผู้จำนองต้องเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจำนองและไถ่ถอนจำนอง
  
ข้อ 10. คู่สัญญาตกลงกันให้ผู้รับจำนองเป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และ โฉนดที่ดินที่จำนอง
    สัญญานี้ทำขึ้นสามฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาโดยละเอียดตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตรา (ถ้ามีไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน ผู้จำนองเก็บไว้หนึ่งฉบับ ผู้รับจำนองเก็บไว้หนึ่งฉบับ และเก็บไว้ที่สำนักงานที่ดิน…………………………………………..
หนึ่งฉบับ

                    ลงชื่อ………………………………….………ผู้จำนอง
                         (…………………………………………….)
                   
                    ลงชื่อ………………………………….………ผู้จำนอง
                         (…………………………………………….)

                    ลงชื่อ………………………………….………ผู้รับจำนอง
                         (…………………………………………….)

                    ลงชื่อ………………………………….………พยาน
                         (…………………………………………….)

                    ลงชื่อ………………………………….………พยาน
                         (…………………………………………….)

    ข้าพเจ้า……………………………………..ซึ่งเป็นสามี/ภรรยา ของ………………………………...
ผู้จำนอง และข้าพเจ้า…………………………………ซึ่งเป็นสามี/ภรรยา ของ……………………………….
ผู้จำนอง ยินยอมให้ผู้จำนองทำสัญญาฉบับนี้ได้

                    ลงชื่อ………………………………….………ผู้ให้ความยินยอม
                         (…………………………………………….)

                    ลงชื่อ………………………………….………ผู้ให้ความยินยอม
                         (…………………………………………….)

หนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน

หนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน
    ที่ดินระวาง………………………….………………ตำบล………………………………………….
เลขที่ดิน…………………………..หน้าสำรวจ…………………………..อำเภอ…………………………….
โฉนดหมายเลขที่…………………………จังหวัด……………………………………….
    หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่……….เดือน…………….พ.ศ……………….ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานคร ระหว่าง……………………………………………………………………...
อายุ……….ปี สัญชาติ…………………….อยู่บ้านเลขที่…………………ถนน……………………………...
ตรอก/ซอย………………………………………………ตำบล/แขวง………………………………………...
อำเภอ/เขต……………………………………………….จังหวัด……………………………………………..
โดย………………………………………..…………เป็นผู้รับมอบอำนาจซึ่งต่อไปในที่นี้เรียกว่า “ผู้จำนอง”
ฝ่ายหนึ่ง กับ……………………………………………………………สำนักงานตั้งอยู่เลขที่………………..
ถนน……………………………………………..ตรอก/ซอย…………………………………………………
ตำบล/แขวง………………………………………...อำเภอ/เขต………………………………………………จังหวัด……………………………………………..โดย……………………………………………………...
เป็นผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้รับจำนอง” อีกฝ่ายหนึ่ง
    ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้
    ข้อ 1. ผู้จำนองได้จำนองที่ดินตามเลขเครื่องหมายที่ดินข้างบนนี้ กับบรรดา ตึก โรงงาน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่แล้วในที่ดินรายนี้ ในขณะทำสัญญา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนอง สิ่งปลูกสร้างซึ่งจะได้ ปลูกสร้างขึ้นต่อไปในภายหน้า ในที่ดินรายนี้ทั้งสิ้นไว้แก่ผู้จำนองเป็นการประกันหนี้ซึ่งผู้จำนองหรือ………
………………………………………………..เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในขณะทำสัญญานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้า ในเรื่อง การกู้เงิน, การเบิกเงินเกินบัญชี, และหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองทั้งหมด ซึ่งรวมวงเงิน…………….……..บาท (…………….…………………………..)
    ถ้าผู้จำนอง……………………………………………………………………………………………
ได้กู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชีจากผู้รับจำนองภายในวงเงินที่กำหนดไว้เท่าใด หรือผู้รับจำนองได้รับความเสียหายเนื่องในการที่ผู้รับจำนองได้ปล่อยสินเชื่อตามแบบและวิธีการของธนาคาร ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังกล่าวแล้ว ภายในวงเงินที่กำหนดไว้เท่าใด ผู้จำนองยอมรับผิดชอบชดใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนองครบถ้วน นอกจากนี้ ผู้จำนองยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองต้องจ่ายหรือเสียหายไปทั้งสิ้น รวมทั้งค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ และค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนองหรือการไถ่ถอนการจำนองนั้นด้วย    
    ข้อ 2. ผู้จำนองตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองในอัตราร้อยละ…………….ต่อปี ในจำนวนเงินต้นทั้งสิ้น ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ โดยผู้จำนองจะนำส่งชำระให้แก่ผู้รับจำนองทุก ๆ เดือน ภายในวันที่……………………………… ของเดือนเสมอไปนับแต่เดือน………..……………..พ.ศ……………….
เป็นต้นไป หากผู้จำนองผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นด้วย
    ข้อ 3. ผู้จำนองสัญญาว่าในระหว่างสัญญาจำนองนี้ ถ้าผู้รับจำนองเห็นว่า ทรัพย์ซึ่งจำนองนี้มีราคาต่ำไปกว่าราคาในเวลาที่จำนองนี้ และเรียกผู้จำนองให้เอาทรัพย์อื่นมาจำนองเพิ่มอีกให้คุ้มค่าพอกับจำนวนเงินที่ ผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนอง ผู้จำนองจะต้องจัดเอาทรัพย์อื่นมาทำจำนองเพิ่มอีกให้คุ้มพอกับจำนวนหนี้ที่ผู้จำนองเป็นหนี้อยู่ ถ้าผู้จำนองบิดพลิ้ว ไม่ยอมปฏิบัติ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามความที่กล่าวนี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้ และบังคับจำนองได้ทันที
    ข้อ 4. เมื่อถึงกำหนดบังคับจำนองถ้าเอาทรัพย์ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้น เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด หรือ เมื่อผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดและราคาทรัพย์ที่จำนองนี้ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ดังได้กล่าวแล้วนั้น เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดผู้จำนองยอมรับผิดชอบรับใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน
    ข้อ 5. ภายหลังที่ผู้รับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองนี้หลุดเป็นสิทธิโดยประการใด ๆ ก็ดี ปรากฏว่ามีหนี้เงินค่าภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำนองนี้ค้างอยู่ สำหรับเวลาก่อนวันโอนมากน้อยเท่าใด และผู้รับจำนองต้องรับผิดรับใช้เงินค่าภาษีอากรนั้น ผู้จำนองต้องรับผิดชอบรับใช้เงินค่าภาษีอากรนั้น ให้แก่ผู้รับจำนองพร้อมทั้งเงินอื่น ๆ ที่ผู้รับจำนองต้องเสียไปเนื่องในการที่ผู้รับจำนองต้องรับผิดชดใช้เงินค่าภาษีอากรเช่นนั้นด้วยโดยครบถ้วน
    ข้อ 6. ถ้าทรัพย์จำนองนี้สูญหายไปหรือบุบสลาย หรือต้องภัยอันตราย ซึ่งเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นเสื่อมราคา ไม่พอเพียงแก่การประกันหนี้ของผู้จำนอง ๆ จะต้องเอาทรัพย์อื่นที่มีราคาพอเพียงมาจำนองเพิ่มให้คุ้มพอกับจำนวนหนี้ที่ผู้จำนองเป็นหนี้อยู่โดยไม่ชักช้า ถ้าผู้จำนองบิดพลิ้วไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามความที่กล่าวนี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันที
    ข้อ 7. ผู้จำนองสัญญาว่า จะรักษาซ่อมแซมตึกบ้าน เรือนโรง และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินรายนี้แล้วหรือ ซึ่งจะได้ปลูกสร้างขึ้นต่อไปในภายหน้า ให้มั่นคงเรียบร้อยปกติดีอยู่เสมอ ตลอดเวลาที่จำนองไว้ แก่ผู้รับจำนองโดยผู้จำนองเสียค่ารักษาและซ่อมแซมเอง
    ข้อ 8. ในระหว่างที่ทรัพย์สินรายนี้ อยู่ในจำนองตามสัญญานี้ ผู้จำนองจะให้สิทธิประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนองนี้ เช่นว่า เช่าถือ อาศัย ปลูกสร้าง ทางเดินยืม เป็นต้น เป็นตัวอย่างและอื่น ๆ อันเป็นการเสื่อมสิทธิ ลดสิทธิ รอนสิทธิ ทอนสิทธิ และเสียสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนองนี้ ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมอนุญาตจากผู้รับจำนองก่อนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าผู้จำนองได้ให้สิทธิประการใด ๆ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้แก่ผู้อื่นไว้แล้วในเวลาที่ทำจำนองนี้  ผู้จำนองต้องแจ้งให้ผู้รับจำนองทราบโดยลายลักษณ์อักษรทันที และถ้าผู้รับจำนองจะต่ออายุสิทธิที่ให้ไว้แล้วไปอีก ผู้จำนองจะต้องได้รับความยินยอมอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้รับจำนองก่อน การกระทำใด ๆ ที่ผู้จำนองได้กระทำฝ่าฝืนขืนขัดต่อสัญญาข้อนี้ไม่ผูกพันผู้รับจำนองและผู้รับจำนองมีสิทธิจะปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นของผู้จำนองได้ ทั้งผู้รับจำนองมีสิทธิจะบอกบังคับจำนองเพราะผู้จำนองกระทำผิดสัญญาข้อนี้ได้โดยทันที
    ข้อ 9. ผู้จำนองสัญญาต่อไปว่า จะเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองนี้ไว้กับบริษัทที่ผู้รับจำนองมีความพอใจ ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้ เป็นจำนวนเงินเต็มตามราคาที่จำนอง ทุก ๆ ปีที่สัญญานี้ยังมีต่อกัน เบี้ยประกันภัยที่จะต้องเสียแก่บริษัทผู้รับประกันมากน้อยเท่าใด ผู้จำนองยอมออกเงินของผู้จำนองเสียเอง ไม่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับจำนองและผู้จำนองต้องมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับจำนองรักษาไว้ด้วย และเมื่อผู้รับจำนองเรียกร้องให้ผู้จำนองสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยโอนสิทะที่จะรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย ผู้จำนองก็ต้องปฏิบัติตาม
    ข้อ 10. ถ้าจะมีปัญหาเกิดขึ้นด้วยข้อกรรมสิทธิ์ของผู้จำนอง ในที่ดินและทรัพย์ที่จำนองนี้เมื่อใด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้ และบังคับจำนองได้โดยทันที
    ข้อ 11. ถ้าผู้จำนองประพฤติผิด หรือไม่ประพฤติตามสัญญาข้างบนนี้ แม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้ และบังคับจำนองได้โดยทันที
    ข้อ 12. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการจำนองและไถ่ถอนจำนอง ผู้จำนองเป็นผู้เสียเอง

    เพื่อให้เป็นหลักฐานแห่งสัญญา คู่สัญญาได้ตรวจหนังสือสัญญานี้ต่อหน้าเจ้าพนักงานแล้วรับรองว่าถูกต้องตามความประสงค์ทุกข้อ จึงได้พร้อมกันลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
       
ลงชื่อ……………………………….ผู้จำนอง    ลงชื่อ……………………………….ผู้รับจำนอง   
     (………………………………….)             (………………………………….)
ลงชื่อ……………………………….พยาน        ลงชื่อ……………………………….พยาน
     (………………………………….)             (………………………………….)

หนังสือสัญญาตั้งตัวแทนทำการจัดสรรที่ดิน

หนังสือสัญญาตั้งตัวแทนทำการจัดสรรที่ดิน

    สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่…………………………………………………………………………..
ณ เลขที่…………………………………………………………………………………………………………
ระหว่างข้าพเจ้า…………………………………………………………………………………………………
อยู่บ้านเลขที่……………..ถนน………………………………ตรอก/ซอย……………………………………
ตำบล…………………………………อำเภอ………………………….จังหวัด………………………………
ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า  ตัวการ  หรือเจ้าของ ฝ่ายหนึ่ง
    กับข้าพเจ้า บริษัท…………………………………….จำกัดโดย……………………………………..
กรรมการผู้มีอำนาจ  สำนักงานตั้งอยู่เลขที่……………………………ถนน…………………………………..
ตรอก/ซอย…………………อำเภอ……………………..จังหวัด………………………………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า ตัวแทนอีกฝ่ายหนึ่ง
    คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันมีข้อความดังต่อไปนี้
    ข้อ 1.  ตัวการหรือเจ้าของ  ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่………………………………..
เลขที่ดิน………………….ตำบล……………………..อำเภอ……………………….จังหวัด…………………
เนื้อที่ดินประมาณ……………..ไร่…..……..……..งาน……….…………ตารางวา   ขอมอบอำนาจให้บริษัท……………………………..จำกัด โดย…………………………………ตัวแทน เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการจัดสรรที่ดินโฉนดข้างต้นของตัวการหรือเจ้าของโดยวิธีแบ่งขายเป็นแปลง ๆ มีขนาดกว้าง……………..เมตร
ยาว………………..เมตร เพื่อความเหมาะสมเพื่อทำการขายให้ลูกค้าทั้งเงินสดหรือเงินผ่อนในราคาตารางวาละ…………………..บาท (………………………………………) โดยตัวแทนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1.1        ทำถนนคอนกรีต  ท่อระบายน้ำ  พร้อมบ่อพักน้ำ   วางท่อประปา  ไฟฟ้าสายเมน  และทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่ได้มอบให้จัดสรรตามแผ่นที่ท้ายสัญญานี้  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญานี้ด้วย  และทำการโฆษณาขายที่ดิน
1.2      ตัวแทนจะต้องออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน  โดยจะต้องจ่ายทดรองในอัตราส่วนร้อยละ…………เปอร์เซ็นต์   ของรายรับจากการขายที่ดิน หากตัวแทนได้จ่ายไปเกินกว่าอัตราที่ได้กล่าว ตัวแทนจะต้องรับผิดชอบต่อการจ่ายในส่วนที่เกินแต่เพียงฝ่ายเดียว
    ข้อ 2.  บริษัท……………………………….จำกัดประกอบกิจการค้าจัดสรรที่ดิน มีใบอนุญาตประกอบการค้าและในอนุญาตจัดสรรที่ดินจากทางราชการตกลงรับมอบหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับตัวการหรือเจ้าของที่ดิน โดยตกลงจะดำเนินการตามที่กล่าวในข้อ 1 ข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และตัวแทนรับรองและสัญญาว่าจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับตัวการหรือเจ้าของโดยซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรงมาในทางการค้า
   
ข้อ 3.  หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวแทน
3.1         ตัวแทนจะจัดทำรายรับ  รายจ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของเจ้าของหรือตัวการให้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
3.2         จัดทำบัญชีรายรับ  จากการขายที่ดินที่จัดสรรทั้งเงินสด และเงินผ่อนรวมยอดรายรับจากการขายแล้วปิดบัญชีของทุกสิ้นเดือนให้เสร็จภายในวันที่ 15 ของทุกเดือนถัดไป  แล้วนำส่งให้กับตัวการหรือเจ้าของร้อยละ 50% ของรายรับก่อน
ข้อ 4.  หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวการหรือเจ้าของ
4.1    ตัวการหรือเจ้าของตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่ตัวแทนร้อยละ 10% ของรายรับ  โดยให้ตัวแทนหักไว้ในบัญชีรายรับ
4.2    ตัวการ หรือเจ้าของจะคืนเงินทดรองที่ตัวแทนได้จ่ายไป  โดยตัวแทนจะต้องแสดงหลักฐานการจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
4.3    ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องเสียภาษี  ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับลูกค้า  ตัวการหรือเจ้าของจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ข้อ 5.  การทำสัญญาขายที่ดินที่จัดสรรให้กับลูกค้าหรือผู้จะซื้อ  ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าซื้อ  หรือสัญญาจะซื้อจะขายและวางเงินมัดจำ  ตัวการหรือเจ้าของ  และตัวแทน  จะร่วมกันลงนามในสัญญาในฐานะเป็นคู่สัญญากับลูกค้าทุก ๆ รายไป
ข้อ 6.  การกำหนดราคาที่จะขายที่ดิน
6.1    ราคาที่กำหนดไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยเจ้าของ  หรือตัวการได้รับข้อเสนอใหม่จากตัวแทน
6.2    ราคาการขายที่ดินอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของการตลาด
ข้อ 7.  การแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนของถนน  หรือการอุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณะตามความเหมาะสม  ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือตัวการ
การแบ่งแยกแผนผัง  ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือตัวการโดยตัวแทนต้องทำรูปแผนที่หรือแผนผังมาให้เจ้าของตรวจดูและลงนามให้ความยินยอมจากเจ้าของหรือตัวการ
ข้อ 8.  เจ้าของที่ดิน  หรือตัวการจะไม่นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปทำนิติกรรมอันใด ให้มีข้อผูกพันในกิจการอื่นอันจะทำให้เกิดความเสียหาย  ไม่ว่าแก่ตัวแทนหรือผู้ดำเนินการขายที่ดินแปลงดังกล่าวนี้
ข้อ 9.  ตัวการ หรือเจ้าของจะต้องไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน  เมื่อลูกค้าได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วทุกรายไป
ข้อ 10.  การบอกเลิกสัญญา
10.1    ในกรณีที่ตัวแทนไม่ดำเนินการอันใดที่จะต้องกระทำในการขายที่ดินภายในเวลาอันสมควร  เจ้าของหรือตัวการมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้
10.2    เจ้าของ หรือตัวการไม่ยอมดำเนินการแต่อย่างใดเมื่อตัวแทนร้องขอหรือนำที่ดินไปทำนิติกรรมอันมีภาระผูกพันอันจะทำให้เกิดความเสียหาย  ตัวแทนมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้
10.3    ในกรณีที่ดินแปลงดังกล่าวถูกทางราชการเวณคืนทั้งแปลง  หรือบางส่วนอันไม่อาจจะดำเนินไปได้ตามสัญญานี้  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้  โดยทั้งสองฝ่ายจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายต่อกันแต่อย่างใด
ข้อ 11.  การเรียกค่าเสียหาย
11.1    คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญา  มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายได้จากฝ่ายที่ผิดสัญญา
11.2    ค่าเสียหายจะเรียกร้องได้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเท่านั้น
11.3    ให้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี   ของค่าเสียหายที่เรียกร้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ข้อ 12.  การส่งคำบอกกล่าว
การส่งคำบอกกล่าวใด ๆ ไปยังคู่สัญญาให้ส่งยังภูมิลำเนาที่ปรากฏอยู่ตามสัญญานี้  และให้ถือว่าเป็นการส่งคำบอกกล่าวที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือสัญญาแต่งตั้งตัวแทนฉบับนี้ได้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกัน  ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความของสัญญานี้ดีโดยตลอดแล้ว  และให้สัญญานี้มีผลบังคับใช้ถึงทายาทของเจ้าของหรือตัวการ  เพื่อเป็นหลักฐานคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญไว้ต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ……………………………………….เจ้าของหรือตัวการ
ลงชื่อ……………………………………….ตัวแทน
ประทับตราสำคัญของตัวแทน                      กรรมการผู้มีอำนาจ

ลงชื่อ……………………………………….พยาน

ลงชื่อ……………………………………….พยาน

หนังสือสัญญานายหน้า

หนังสือสัญญานายหน้า

    สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่..................เดือน...................................................พ.ศ. ...................
ณ ที่บ้านเลขที่...................ถนน..........................................ตรอก/ซอย......................................................
แขวง....................................................เขต.............................................................................กรุงเทพมหานคร
ระหว่าง ข้าพเจ้า.....................................................................อายุ............ปี อยู่ที่บ้านเลขที่................................
ถนน...................................ตรอก/ซอย..........................................ตำบล/แขวง..................................................
อำเภอ/เขต.............................................จังหวัด...........................................................ซึ่งต่อไปสัญญานี้เรียกว่า
ผู้ให้สัญญา    ฝ่ายหนึ่ง
กับ ข้าพเจ้า..............................................................อายุ............ปี อยู่ที่บ้านเลขที่................................
ถนน...................................ตรอก/ซอย..........................................ตำบล/แขวง..................................................
อำเภอ/เขต.............................................จังหวัด...........................................................ซึ่งต่อไปสัญญานี้เรียกว่า
นายหน้า    อีกฝ่ายหนึ่ง
    คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันทำสัญญา  มีข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้

    ข้อ 1. นายหน้า ตกลง จะทำหน้าที่เป็นนายหน้า ให้กับ ผู้ให้สัญญา ซึ้งเป็นเจ้าของ..............................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
........................................................................โดยมีความประสงค์จะขายทรัพย์ดังกล่าว

    ข้อ 2. นายหน้าตกลงจะเป็นผู้ติดต่อหาผู้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าว     ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้สัญญาได้เข้าทำสัญญา  กับผู้ซื้อจนเสร็จ

    ข้อ 3.  หากผู้ให้สัญญาสามารถขายทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นได้  เนื่องจากผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ให้สัญญาได้ขายทรัพย์ ได้ในราคาไม่ต่ำกว่า.........................................บาท  ผู้ให้สัญญาตกลงจ่ายเงินค่านายหน้าให้เป็นเงิน................................บาท (.................................................................................)
โดยตกลงจะชำระเป็นงวด ๆ ดังนี้
    ก.ในวันที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขาย จะจ่ายให้เป็นเงิน..............................................................บาท
หรือตามอัตรา......................เปอร์เซ็นต์  ของจำนวนมัดจำที่ผู้ซื้อได้ชำระให้
    ข. ในวันที่ผู้ให้สัญญาได้รับเงินครบถ้วนจากผู้ซื้อ  ส่วนที่ยังค้างอยู่ทั้งหมด
    ค. ในกรณีที่มีการจดทะเบียนซื้อขายกัน และ ผู้ให้สัญญา ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อครบถ้วนผู้ให้สัญญา จะชำระค่านายหน้าทันที่ หรือ ภายในสองวัน ในกรณีที่ผู้ซื้อชำระเป็นแคชเชียร์เช็คหรือดร๊าฟ
    ข้อ 4.  ในกรณีที่ นายหน้า ได้ค่านายหน้า จากผู้ซื้อ ผู้ให้สัญญาไม่ต้องชำระค่านายหน้า
    ข้อ 5. ในกรณีที่นายหน้าสามารถขายทรัพย์ได้เกินหรือสูงไปกว่าที่ตกลงในสัญญานี้ ผู้ให้สัญญาตกลงให้จำนวนเงินส่วนที่เกินเป็นของนายหน้า โดยนายหน้าจะเป็นผู้รับผิดชอบมีภาระเป็นผู้เสียภาษีอากรค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และค่าธรรมเนียม ต่างๆ เกี่ยวกับการโอนเฉพาะส่วนที่เกินซึ่งนายหน้าเป็นผู้ได้รับเงิน
   
    ข้อ 6. ผู้ให้สัญญาตกลงจะให้ค่าใช้จ่ายแก่นายหน้า เท่าที่จำเป็นสำหรับในกรณีที่หาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อทรัพย์สำเร็จ เป็นเงินอีก.......................................บาท(.....................................................)

    ข้อ 7. สัญญาฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่..............เดือน.....................................พ.ศ. ................
จนถึงวันที่............เดือน........................................พ.ศ. .................หากนายหน้ายังไม่สามารถหาผู้ซื้อ มาทำสัญญาซื้อขายได้สำเร็จ  ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันเลิกกันโดยไม่จำต้องบอกกล่าว
   
    ข้อ 8. ในกรณีที่นายหน้าทำหน้าที่ผิดสัญญานายหน้า ทำให้ผู้ให้สัญญาเสียหายผู้ให้สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายจากนายหน้าได้อีก

    ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ให้สัญญาผิดสัญญาไม่ยอมขายทรัพย์ เมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องและจัดการให้ได้เข้าทำสัญญาแล้ว ผู้ให้สัญญา ตกลงยอมชำระเงินให้กับนายหน้า ตามสัญญานี้เว้นแต่ในกรณี ทรัพย์ที่ขายถูกทางราชการเวณคืน หรือมีคำสั่งศาลห้ามจำหน่ายอันมิใช่เป็นความผิดของผู้ให้สัญญา
    สัญญานี้ทำขึ้นเป็น...............ฉบับ มีข้อความตรงกัน  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจดีตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน



  ลงชื่อ..............................................................ผู้ให้สัญญา
ลงชื่อ..............................................................นายหน้า
ลงชื่อ..............................................................พยาน
ลงชื่อ..............................................................พยาน

หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ

หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ

    หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่...................................................................................................
ณ เลขที่ ............................................................................................................................................................
ระหว่าง ...........................................................................................................................................ผู้ให้สัญญา
อยู่บ้านเลขที่ .....................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
กับข้าพเจ้า........................................................................................................................................ผู้รับสัญญา
อยู่บ้านเลขที่ .....................................................................................................................................................
ทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้งต่อไปนี้
  
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญาตกลงยินยอมที่จะเลิกใช้ภาชนะ.................................................................................
ซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้รับสัญญา  ในวันที่ทำสัญญานี้เป็นต้นไป
  
ข้อ 2. ผู้ให้สัญญาจำดำเนินการเก็บภาชนะ....................................................................................ซึ่งมี
เครื่องหมายของผู้รับสัญญาที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั้งไปให้หมดภายในกำหนด...........................วัน/เดือน นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป
  
ข้อ 3. ผู้ให้สัญญาตกลงจะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้รับสัญญาในการที่ผู้ให้สัญญาได้ละเมิดสิทธินำภาชนะ.............................................ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้รับสัญญาไปใช้เป็นจำนวนเงิน......................
..........................บาท (.........................................................................) โดยในวันทำสัญญานี้ ผู้รับสัญญาได้รับไว้แล้ว
  
ข้อ 4. เงื่อนไขอื่น (หากมี)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
   
ข้อ 5. ผู้ให้สัญญาตกลงยินยอมให้ตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจเข้าตรวจโรงงานหรือสถานแหล่งผลิตสินค้าของผู้ให้สัญญาได้ตลอดไป
หากพบว่า ผู้ให้สัญญายังนำภาชนะ.....................................................มีเครื่องหมายการค้าของผู้รับสัญญาไปบรรจุในสินค้าของผู้ให้สัญญาอีก ผู้ให้สัญญาตกลงยินยอม ให้ผู้รับสัญญาปรับเป็นรายวัน ๆ ละ
...............................................บาท (............................................................) จนกว่าจะเลิกใช้ภาชนะ...........
...................................ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้รับสัญญา สัญญานี้ได้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกันซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและได้อ่านเข้าใจข้อความของสัญญานี้ โดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ......................................................ผู้ให้สัญญา
                                       (......................................................)

ลงชื่อ......................................................ผู้รับสัญญา
                                         (......................................................)

              ลงชื่อ......................................................พยาน
                                       (......................................................)

ลงชื่อ......................................................พยาน
                                        (.....................................................)